9.21.2012

การเตรียมการอุดมศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน


UploadImage
 
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการ อาเซียน ได้กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมด้านศึกษาในระดับอุดมศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนได้น่าสนใจไว้ดังนี้
 
                ปัจจุบันการแข่งขันในเวทีโลกนั้นสูงมาก การศึกษาเป็นหัวข้อหนึ่งที่อาเซียนให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะจะเป็นกลไกหรือเครื่องมือสำคัญในการสร้างประชาคมอาเซียน เพราะถ้าคนในประเทศสมาชิกคิดว่าตัวเองยังเป็นเชื้อชาติของตนเอง อาเซียนก็เกิดไม่ได้ เราต้องคิดถึงอัตลักษณ์อาเซียน ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ด้วยการเรียนรู้แลกเปลี่ยนและพัฒนาร่วมมือกัน ขณะนี้ประเทศคู่ค้าของอาเซียนต่างสนใจที่จะมาลงทุนอาเซียนมูลค่าในแต่ละปี สูงมาก เพราะอาเซียนมีประชากรมากถึง 600ล้านคนสูงกว่าอียูมาก แต่ประชาคมอาเซียนจะไม่เกิดขึ้น ถ้าคนในแต่ละประเทศสมาชิกไม่เกิดความรู้สึกเป็นอาเซียนระหว่างกัน นี่คือภารกิจของอาเซียน

                อาเซียนมีความใฝ่ฝันว่าจะเป็นหนึ่งเดียวในปี 2015(พ.ศ.2558) แต่ความแตกต่างระหว่างประเทศสมาชิกยังสูงมาก โดยเฉพาะช่องว่างทางเศรษฐกิจ สิ่งนี้ท้าทายอาเซียนในการเข้าสู่ประชาคมร่วมกัน เพราะไม่มีเครื่องมือใดดีไปกว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือให้การศึกษาแก่ พลเมืองของตน ถ้าทรัพยากรมนุษย์ไม่พร้อม ทุนที่จะมาลงในอาเซียนก็อาจจะมีปัญหาได้

                 "ขณะนี้ทุกประเทศต้องฝึกพูดภาษาตลาดเพื่อบอกนักลงทุนว่าขามาลงทุนแล้วได้ กำไรเท่าไหร่บ้าง ในถนนธุรกิจของแต่ประเทศ คนที่จบออกมาต้องสามารถเป็นบุคลากรที่เชื่อมโยงตลาดในและตลาดนอกประเทศได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเน้นที่หัวใจของอาเซียน คือ การศึกษานั่นเอง"

                 ดร.สุรินทร์กล่าวว่าประเทศในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้มีความแตกต่างด้าน เชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรม ไม่เหมือนประเทศในยุโรปที่มีภูมิหลังเดียวกัน ความแตกต่างหลากหลายเหล่านี้ทำให้คนในอาเซียนรีรอที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับ เรื่องภายในแต่ละประเทศ การเป็นประชาคมของคน 600ล้านคนจึงต้องลงทุนลงแรงและร่วมมือกันอย่างจริงจังมากซึ่งไม่ใช่เรื่อง ง่ายเลย

                สิ่งที่อยากเห็นความร่วมมือในอาเซียน ประการแรกคือ อะไรที่ทำได้ให้ทำก่อน หลายอย่างที่อาจจะมีปัญหา เช่น ตารางเปิดเรียนพร้อมกัน ถ้ารอว่าปฏิทินการศึกษาตรงกันก็จะยาก แต่สิ่งที่เราต้องการคือการเรียนรู้ระหว่างกัน เช่น หลักสูตรนานาชาติ อาจปรับเพื่อเกื้อกูลตลาดอาเซียนที่ต้องการเข้ามาศึกษาก่อน

                ประการที่สองการเปิดกว้างโดยเฉพาะสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เปิดสอนให้มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างกันมากขึ้น

               ประการที่สามรัฐบาลต้องเห็นว่าเรื่องนี้เป็นนโยบายสำคัญของประเทศ โดยจัดสรงบประมาณจัดบุคลากรให้ สนับสนุนการเรียนการสอนสาขาวิชาต่างๆอย่างเพียงพอ

                ประการที่สี่ ในสาขาวิชาที่อาเซียนให้การรับรองแล้วว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาในแต่ละประเทศ สามารถออกไปหางานทำในประเทศสมาชิกได้นั้น เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ วิศวกรรม พลังทดแทน ปิโตรเคมี ไอที การโรงแรม การท่องเที่ยว การขนส่งที่มีประสิทธิภาพสูงโลจิสติกส์
                9สาขานั้นคุณภาพต้องเป็นหนึ่งเหมือนกัน และข้อสำคัญต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างดีด้วย

                มิฉะนั้นแล้ว ถ้าไม่เร่งปรับตัว ไทยเราจะเสียเปรียบให้นักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีคุณภาพเหนือกว่ามาก ทั้งทักษะวิชาการ และ ภาษาสื่อสาร ที่เหนือกว่า ดังตัวเลขของการจ้างงานหลายหมื่น ๆ ตำแหน่งงานในองค์กรระหว่างประเทศ  ร่วม 100แห่งที่ตั้งสาขานอกจาก  บริษัทข้ามชาติเอกชนขนาดใหญ่ ๆ ที่มีชื่อเสียงระดับโลก กว่า 500แห่งซึ่งมีหน่วยงานวิจัย พลังงานทดแทน กลุ่มเวชภัณฑ์ยารักษาโรค วิศวะก่อสร้างทันสมัย ที่ต้องเชื่อมโยง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีโครงสร้างแข็งแรง ปลอดภัย นวัตกรรมการคิดค้นประหยัดพลังงานลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ระบบขนส่งโลจิสติกส์ ธุรกิจ วิจัย แปรรูปอาหาร การควบคุมระบบไอทีในธุรกิจค้าส่งค้าปลีก และ ธุรกิจควบคุมการบิน ระหว่างประเทศ ที่ต้องว่าจ้างบัณฑิตต่างประเทศเข้ามาทำงาน ซึ่งทำให้เสียโอกาสแก่เหล่าบัณฑิตไทย ไปอย่างน่าเสียดาย
                  ดังตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ธุรกิจการบิน หอควบคุมการบินระหว่างประเทศ ยังต้องมีการว่าจ้างบัณฑิตจากต่างประเทศหลายร้อย คนกระจายทำงานอยู่ในหอควบคุมการบิน อันเนื่องด้วยประสบการณ์และ สื่อภาษาอันเป็นข้อได้เปรียบด้วยอัตราค่าจ้าง เดือนละไม่น้อยกว่า 8,500 - 10,000เหรียญสหรัฐ

                   ดร.สุรินทร์กล่าวว่า วิชั่นของอาเซียนนี้ ต้องบอกกล่าวไปถึงพ่อแม่ผู้ปกครองและนักเรียนด้วย เพราะอนาคตการเคลื่อนย้ายไปสู่ประเทศในภูมิภาคเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมาก เพราะถ้าเราสามารถชนะในอาเซียนได้เราก็จะสู่สากลได้ ข้อสำคัญเราต้องมีความเป็นเลิศ ต้องเป็นหนึ่ง เพราะเราขายทักษะความรู้ของเรา ต่อไปการผลิตบัณฑิตของแต่ละมหาวิทยาลัยทั้ง 9สาขาวิชานี้ เราไม่ได้ผลิตเพื่อคนในประเทศแต่เราต้องผลิตให้แก่คน 600ล้านด้วย

                   เลขาธิการอาเซียน ท่านได้ฝากถึงคนไทยทุกคนในตอนท้ายว่า...ขอให้คนไทยตระหนักว่าเราเป็นอาเซียน ด้วยกัน เราจึงจะมีอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น และถ้าคุณภาพคนของเราพร้อม และแข่งขันกันแล้วสามารถเอาตัวรอดได้ สู้เขาได้ การผลิตบัณฑิตให้จบไปก่อนตามแบบเดิมไม่เพียงพออีกต่อไป  ต้องเน้น คุณภาพวิชาการ ทันยุคสมัย มีทักษะ พร้อมประสบการณ์การทำงาน มีจิตอาสาเรื่องความรับผิดชอบ  ต่อองค์กร และ ต่อสังคม  นอกจากภาษาต้องถึงพร้อมในระดับสากลเพราะจากนี้ไปเราไม่ได้แข่งขันในบริบทไทย เท่านั้น แต่เราต้องออกไปแข่งขันข้างนอกประเทศด้วย มาตรฐานการศึกษาจึงต้องมุ่งที่ประสิทธิภาพจริงๆ และอยากบอกว่าปัจจุบันนี้ภาคเอกชนได้ตื่นตัวไปก่อนหน้าแล้วนี้ ภาคเอกชนจะเป็นหนึ่งไม่ได้ ถ้าไม่มีบรรยากาศรอบๆที่ช่วยให้เขาแข่งขันต่อไปได้ คนช่วยคือสถาบันอุดมศึกษาต่างๆนี้เอง ในฐานะผู้ผลิต เป็นกัปตันหรือศูนย์หน้าให้ภาคเอกชน

                  " ถ้าสถาบันอุดมศึกษาต่างๆพร้อมออกไปแข่งขัน เชื่อว่าทุกองคาพยพของสังคมไทยจะต้องสนับสนุนอย่างแน่นอน แม้เราจะมีสิ่งท้าทายมากมาย และสิ่งกดดันจากทุกทิศ แต่การบริหารจัดการให้ถูกต้อง ลดคอรัปชั่น เพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันแล้ว เชื่อว่าไทยจะสามารถแข่งขันได้ทั้งในอาเซียนและตลาดโลกอย่างแน่นอน"



ที่มา.http://blog.eduzones.com/aec1/88607

 

อาชีพเสรี ในกลุ่มอาเซียน

จากผลการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้ง ที่ 9 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ได้มีการทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายการบริการ สินค้า แรงงาน การลงทุนอย่างเสรี โดยกำหนดให้ผู้มีคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพ หรือแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ 7 สาขาสามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานที่ประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนได้อย่างเสรีและถูกกฎหมาย เพื่อเป็นการเพิ่มอัตราการแข่งขันทางเศรษฐกิจในภูมิภาคโลก ส่งเสริมอาเซียนให้ เป็นตลาดเดียว และมีฐานการผลิตร่วมกัน โดยจะเริ่มในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ.2015) ในเบื้องต้นนี้ประเทศสมาชิกอาเซียนได้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน ใน 7 สาขาวิชาชีพ คือ

1. อาชีพวิศวกร (Engineering Services)
2. อาชีพพยาบาล (Nursing Services)
3. อาชีพสถาปนิก (Architectural Services)
4. อาชีพการสำรวจ (Surveying Qualifications)
5. อาชีพนักบัญชี (Accountancy Services)
6. อาชีพทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
7. อาชีพแพทย์ (Medical Practitioners) การเปิดอาชีพเสรีแบบนี้ก็อาจมีข้อเสียเหมือนกัน เช่น คนไทยอาจถูกแย่งอาชีพ ปัญหาความอ่อนด้อยทางด้านภาษาต่างประเทศ จะทำให้แรงงานไทยไม่สามารถแข่งขันกับแรงงานชาติอื่นได้ ดังนั้นนักเรียน นักศึกษาจึงควรที่จะเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ในการสื่อสารและการทำงาน

ที่มา  http://blog.eduzones.com/
ข้อมูล อาเซียน ตัดตอนจาก เดลินิวส์ออนไลน์ 22 สิงหาคม 2555

เปลี่ยนเวลา ปิด-เปิด ภาคเรียน เริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557

ศธ.ออกประกาศกระทรวงฯ ปรับปฏิทินการเปิดภาคการศึกษาทุกหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2555 โดยมี ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 14 กันยายน 2555 เรื่อง ขอความร่วมมือปรับปฏิทินการเปิดภาคการศึกษาทุกหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา

ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการที่ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดเสรีทางการค้า ตลาดแรงงาน การศึกษา และอื่นๆ โดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดนโยบายรองรับในการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนไว้หลายประการ เช่น การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียน การเตรียมความพร้อมทางด้านภาษาของนักเรียนและบุคลากร การส่งเสริมแลกเปลี่ยนนักเรียน นักศึกษา บุคลากร และการเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีทางการศึกษา โดยประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางการศึกษาของอาเซียน ฯลฯ

ดังนั้น เพื่อเป็นการรองรับการเปิดภาคการศึกษาในระดับสากลและการเปิดประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 และเพื่อประโยชน์แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งจะใช้เวลาศึกษาในชั้นเรียนได้อย่างเต็มที่ ครบตามหลักสูตร มีเวลาเตรียมตัวเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาไม่ต้องเร่งดำเนินการรับนักศึกษา อีกทั้ง เพื่อความเป็นเอกภาพในระบบการจัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จึงขอความร่วมมือสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดและในกำกับทุกแห่งปรับปฏิทินการเปิดภาคเรียนทุกหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา เป็นช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายนทั้งนี้ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป

ที่มา: http://www.naewna.com

9.12.2012

QS Best Student Cities in the World 2012

สถาบัน QS ได้จัดอันดับ Best Student Cities ไว้น่าสนใจมาก ซึ่งจะประกอบด้วยรายละเอียดของคุณภาพของสถาบันศึกษา ขนาดพลเมือง และ โปรไฟล์ของแต่ละเมือง คุณภาพชีวิต ค่าใช้จ่าย และนักเรียนแต่ละเชื้อชาติไว้อย่างละเอียดเลยทีเดียว 



ที่มา http://www.topuniversities.com/student-life/best-student-cities/


 RANK  CITY (Click 
to view profile)
COUNTRY STUDENT MIX QUALITY OF 
LIVING
EMPLOYER ACTIVITY AFFORD
ABILITY
OVERALL
1 Paris France 85 91 96 54 421
2 London United Kingdom 87 88 89 41 405
3 Boston United States 85 89 83 44 399
4 Melbourne Australia 100 94.5 84 28 398
5 Vienna Austria 99 99.5 81 62 389
6 Sydney Australia 94 97 81 25 384
7 Zurich Switzerland 84 99 81 51 381
8 Berlin Germany 81 95 57 71 376
8 Dublin Ireland 92 91.5 70 43 376
10 Montreal Canada 85 93 68 46 372
11 Barcelona Spain 76 87 71 61 370
12 Singapore Singapore 78 92 100 35 369
13 Munich Germany 79 98.5 63 69 368
14 Lyon France 88 87.5 43 81 367
15 Chicago United States 62 85.5 72 44 357
16 Madrid Spain 73 85.5 64 66 356
17 San Francisco United States 67 91 72 43 353
18 New York United States 63 83.5 73 35 352
19 Tokyo Japan 43 84 83 46 351
19 Hong Kong Hong Kong 74 50 92 42 351
21 Milan Italy 63 86 89 54 350
22 Brisbane Australia 94 88.5 63 30 349
23 Seoul Korea, South 67 50 82 53 345
24 Buenos Aires Argentina 54 50 93 75 339
25 Perth Australia 95 93.5 53 28 337
26 Toronto Canada 70 95.5 75 35 336
27 Stockholm Sweden 66 94 79 34 335
28 Beijing China 48 50 87 62 329
29 Adelaide Australia 88 91 45 34 327
30 Washington DC United States 60 85.5 55 45 325
31 Vancouver Canada 78 98 54 37 322
31 Mexico City Mexico 38 50 68 95 322
33 Helsinki Finland 58 89.5 53 69 321
34 Taipei Taiwan 49 50 59 78 320
35 Manchester United Kingdom 82 50 66 64 317
36 Amsterdam Netherlands 62 96.5 57 44 316
37 Moscow Russia 57 50 78 52 314
38 Brussels Belgium 71 93 40 60 308
39 Shanghai China 43 50 70 68 306
39 Copenhagen Denmark 64 97.5 56 31 306
41 Santiago Chile 33 50 89 63 302
42 Philadelphia United States 56 50 64 52 301
43 Kyoto Japan 60 83 44 47 298
44 Kuala Lumpur Malaysia 58 50 45 86 295
45 Sao Paulo Brazil 27 50 79 58 292
46 Toulouse France 86 50 26 81 286
47 Birmingham United Kingdom 64 50 55 64 284
48 Cairo Egypt 47 50 55 96 282
49 Bangkok Thailand 27 50 63 68 279
50 Glasgow United Kingdom 68 50 43 63 278

9.03.2012

หวั่นต่างชาติแย่งงานคนไทย


เมื่อวันที่ 12 ก.ค. ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ( SBAC ) มีการเสวนา "Next Step อาชีวศึกษา:สร้างคนพันธุ์ R รับคำท้าอาเซียน" จัดโดย สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน(สสค.) ร่วมกับบริษัท ทีโอเอ เพ้นท์(ประเทศไทย) จำกัด และสำนักงานอาชีวศึกษา(สอศ.) โดย รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาฯกล่าวว่า

ประเทศไทยยังขาดแรงงานระดับกลางอีกจำนวนมาก  ขณะที่รัฐและคนส่วนใหญ่ไม่สนใจส่งลูกมาเรียนอาชีวศึกษา แต่ให้เรียนต่อมหาวิทยาลัย ทั้งที่จบมหาวิทยาลัยก็ตกงาน  ดังนั้น จึงเป็นการส่งเสริมการศึกษาที่ผิดและเป็นอันตรายต่อประเทศอย่างมาก ขณะที่ประเทศสิงค์โปร์ถือว่าเป็นผู้นำในกลุ่มอาเซียน จะให้ความสำคัญกับอาชีวศึกษา โดยกำหนดสัดส่วนเด็กต้องเรียนอาชีวศึกษากับมหาวิทยาลัย 70 ต่อ 30 เพราะเห็นความสำคัญของแรงงานที่จะพัฒนาประเทศ  แต่ประเทศไทยเด็กเรียนอาชีวศึกษากับมหาวิทยาลัย 33 ต่อ 67  หรือ ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการให้สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน( สพฐ.) และสอศ.ทำความร่วมมือกันกำหนดสัดส่วนการรับนักเรียน 60 ต่อ 40 เพื่อให้เด็กมาเรียนสายอาชีพมากขึ้น แต่เด็กมาเรียนอาชีวศึกษาไม่ได้ตามเป้า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสพฐ.ไม่อยากให้เด็กเรียนสายอาชีพ เพราะกลัวว่าจะได้ค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียนลดลง  ดังนั้น ต้องอาศัยนโยบายฝ่ายการเมืองมาบังคับ

รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวว่าต่อไปว่า ตนเห็นว่าทุกฝ่ายจะต้องเตรียมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนกันได้แล้ว รวมทั้งหากไม่ช่วยกันยกระดับอาชีวศึกษาใน 2 ปีนี้ แรงงานระดับกลางของเรากว่าครึ่ง จะถูกแทนที่ด้วยแรงงานต่างชาติ ที่มีศักยภาพมากกว่า รวมทั้งมีความอดทน และลอกเลียนแบบจุดแข็งเด็กอาชีวศึกษาของไทยที่มีความละเอียดและคิดสร้างสรรค์ในงานฝีมือเชิงศิลปะ ดังนั้น การเข้าสู่ประชาคมเศรฐกิจอาเซียนในปี2558  จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายเด็กอาชีวศึกษาให้โชว์ศักยภายที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ร่วมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมช่วยกันผลักดัน เชื่อว่าในอีก3ปีเราจะสู้ได้ แต่ถ้าไม่เตรียมเด็กให้พร้อมเด็กไทยจะไม่มีพื้นที่ในการทำงาน และแรงงานระดับกลางของไ่ทยจะถูกเด็กต่างชาติเข้ามาแทนที่หมด

นางศรีวิการ์  เมฆธวัชชัยกุล อดีตรองปลัดกระทรางศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนมีโอกาสเดินทางไปดูงานของกลุ่มประเทศอาเซียน บอกได้เลยว่า เด็กอาชีวศึกษาของไทยไม่เป็นรองเด็กอาชีวศึกษาต่างชาติ ยกเว้นประเทศสิงคโปร์ แต่เราจะชะล่าใจไม่ได้ต้องเตรียมตัวให้พร้อมและพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพมากขึ้นเรื่อยๆนอกจากนี้ การเรียนเด็กอาชีวศึกษาในทศวรรษที่ 21 ต้องสร้างเกิดการเรียนไม่แยกส่วนด้วยโมเดลห้องเรียนอาชีวศึกษาในโรงเรียนสพฐ คือ เด็กสายสามัญสามารถเรียนต่อด้านสายอาชีพได้โรงเรียนเดิม เพียงแต่ให้อาชีวศึกษาจัดการเรียนการสอนสายอาชีพเสริม และจะทำให้เด็กมีทักษะในการคิดนวตกรรมใหม่ร่วมกัน

นายไชยศิริ สมสกุล ประธานอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า  ขณะนี้รัฐและภาคเอกชนตื่นตัวในการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมากขึ้น ส่วนการเรียนของเด็กจากนี้ไม่ใช่เรียนเพื่อจบหรือเรียนตามใจตนเอง แต่ต้องเรียนให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานและสู่มาตรฐานสากล อีกทั้ง สถาบันการศึกษาจะมาคิดหลักสูตรที่เรียนเองไม่ได้ต้องระดมความคิดเห็นจากสถานประกอบการ เพื่อสู่ประชาคมอาเซียนร่วมกัน

ด้านนายจตุภัทร์  ตั้งคารวคุณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอเอ ฯ กล่าวว่า ทีโอเอ เป็นบริษัทคนไทยเห็นความสำคัญการพัฒนาฝีมือแรงงานไทย จึงนำความรู้ความเชี่ยวชาญมาเติมเต็มให้กับเด็กอาชีวศึกษาเพื่อให้สร้างาน สร้างอาชีพ ช่วยเหลือตนเองก้าวไปแข่งขันตลาดแรงงานได้ และเห็นว่าอาชีวศึกษาเป็นกลุ่มบุคลากรที่สำคัญที่จะร่วมพัฒนาสังคมและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

ข้อมูลจาก www.dailynews.co.th

8.29.2012

วิธีจัดกระเป๋าเดินทางอย่างมืออาชีพ

การเก็บกระเป๋าใช่ แต่จะพับๆ เสื้อกับหยิบข้าวของยัดลงกระเป๋าไป เพราะเมื่อถึงปลายทางแทนที่จะได้เที่ยวแบบสวยๆ อย่างมีสไตล์ คุณกลับต้องมาหงุดหงิดกับเสื้อยับยู่ย่น หรืออารมณ์เสียกับข้าวของที่เสียทรงหรือเสียหาย ดังนั้น เพื่อให้คุณได้เที่ยวอย่างมีสไตล์ เราจึงได้นักจัดกระเป๋ามืออาชีพอย่าง “คุณดำรงค์ อัศวสุวรรณ์” บัตเลอร์มือหนึ่งของโรงแรมเซนต์ รีจิส กรุงเทพฯ มาให้คำแนะนำ

      
       1. ควรหากระดาษห่อเสื้อแบบบางๆ แบบที่เห็นตามร้านเสื้อผ้าไว้สำหรับวางกันหรือห่อเสื้อผ้าแต่ละชิ้นไม่ให้ ติดกันหรือไหลเลื่อน ขยับ ซึ่งจะทำให้ยับและเสียทรงได้ รวมทั้งสามารถขยำให้เป็นก้อนและนำไปสอดให้เสื้อผ้าให้อยู่ทรงไม่เสียรูป โดยกระดาษสามารถพับเก็บและมาใช้ได้ในการเดินทางครั้งต่อไป
      
       2. การม้วนไม่ได้ช่วยให้เสื้อผ้าไม่ ยับนั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด การป้องกันผ้ายับควรพับให้น้อยที่สุด โดยวางเสื้อผ้าให้แผ่กว้างซ้อนกันตามรูปทรงของกระเป๋า โดยวางเสื้อผ้าที่ยับง่ายไว้ด้านบนสุดแล้วจึงค่อยพับในส่วนที่เกินออกมา(โดย การพับตามแนวตะเข็บ แนวจีบ และแนวข้อพับ ข้อศอก) ตลบขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดรอยยับที่เด่นชัด
      
       3. การแพ็กกระเป๋าควรแพ็กแบบไม่อัด แน่นหนัก กะให้สัมภาระในกระเป๋ามีที่เหลือประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนอกจากจะไม่ทำให้ข้าวของทับกันยับย่น เสียหายแล้ว ยังสามารถเผื่อในการแพ็กข้าวของที่ซื้อหามาระหว่างทริปอีกด้วย
      
       4. ควรแพ็กรองเท้า ของหนักและเครื่องใช้ในห้องน้ำที่มีพวกของเหลวไว้ก้นกระเป๋าโดยห่อกันกระแทก ให้เรียบร้อยเสียก่อน เพราะหากเกิดการแตกรั่วแล้ว เวลาหิ้วหรือการเรียงวางกระเป๋าระหว่างเดินทาง จะได้ไม่ทำให้ส่วนสัมภาระส่วนอื่นเปรอะเปื้อนไปด้วย
      
       5. นอกจากกระเป๋าเดินทางใบใหญ่แล้วควร มีกระเป๋าCarry On ขึ้นเครื่องอีก 1 ใบ เผื่อกรณีมีข้าวของมีค่าจะได้หิ้วติดตัว และที่สำคัญควรพกเสื้อผ้าสำรองไว้ 1 ชุด เพราะการเดินทางไกลต่อหลายไฟลต์มีโอกาสที่กระเป๋าจะหลงหายได้สูง
      
       6. กระเป๋าเดินทางถ้าเป็นแบรนด์ธรรมดา ทั่วไปไม่ใช่แบบคุณภาพชั้นเยี่ยม ควรเลือกใช้แบบชนิดผ้าแบบเข้าทรงจะดีที่สุด เพราะแบบทรงแข็งพลาสิกมีโอกาสแตก บุบเสียหายได้ง่าย และแนะนำให้ใช้บริการแรปกระเป๋าด้วยพลาสติกที่มีตามสนามบินจะช่วยลดความเสีย หายของกระเป๋าระหว่างการเดินทางได้มาก

เรื่อง และ ภาพ จาก ผู้จัดการออนไลน์

อาชีพยอดนิยมสำหรับคนไทยในต่างประเทศ

พนักงานทำความสะอาด Cleaning นอกจากงานเกี่ยวกับร้านอาหาร  งานเสิร์ฟ ทำครัว พ่อครัว แม่ครัว แคชเชียร์ ล้างจาน แล้ว อาชีพอื่นๆ ที่คนไทยยังให้ความนิยม คือ พนักงานทำความสะอาดตามบ้าน ตามสำนักงาน



โดยมากพวกฝรั่งตาน้ำข้าวนั้น มักจะทำความสะอาดบ้านกันเอง อาจจะไม่ได้ทำทุกวัน แต่ก็จะใช้เวลาของวันหยุดทำความสะอาดกัน เนื่องจากพื้นบ้านเป็นพรม จึงมีเครื่องอำนวยความสะดวกช่วย สำหรับการมีคนมาช่วยงานบ้านถือเป็นความฟุ่มเฟือย เพราะต้องเสียเงินถึงชั่วโมงละ $30 แต่ถ้าเขาลงทุนจ้างพนักงานทำความสะอาดมา นั่นคือ จะต้องเป็นการจ้างทำแบบมืออาชีพ  โดยส่วนใหญ่ การทำความสะอาจมักจะทำในสำนักงาน ซึ่งอาจทำในช่วงสำนักงานปิดแล้ว หรือก่อนการเริ่มงานใหม่  เด็กไทยบางคนอาจมีคิวได้ไปทำความสะอาดในช่วงเช้ามืดก็เป็นไปได้

พนักงานนวด นวดสปา นวดแผนไทย โดยปกติร้านนวดในต่างประเทศ มักจะรับเด็กนวดที่ผ่านการฝึกอบรมมาจากสถาบันที่เชื่อถือได้ในเมืองไทย ใช่ที่วัดโพธิ์ สนามหลวง และอาจฝึกกันเพิ่มเติมในร้าน เพื่อให้เกิดความชำนาญมากยิ่งขึ้น แต่บางประเทศเช่น ในยุโรป พนักงานอาจต้องเรียนเพิ่มเติมในสถาบันของประเทศเหล่านั้น  หรือ ที่อเมริกาต้องเข้าเรียนคอร์สนวดหลายเดือนหลายร้อยชั่วโมง จนกว่าจะมีคุณสมบัติสามารถนวดลูกค้าได้ แต่โอกาสในอาชีพนี้มีมาก เช่นในอังกฤษ คนไทยหรือนักเรียนอาจรับจ้างทำตามร้านสปาของฝรั่ง หรือเริ่มจากรับนวดที่บ้านก็เริ่มมีมากขึ้นค่ะ

รับจัดงานเลี้ยง หรือ catering เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น สำหรับคนไทยที่มีฝีมือด้านทำกับข้าว  หรือ มีศิลปะในการตกแต่งจานให้น่ารับประทาน มีความรู้เกี่ยวกับการทำอาหารสำหรับการจัดเลี้ยง ปาร์ตี้  หรือ ส่งอาหารปิ่นโตตามบ้าน เนื่องจากอาหารไทยในสายตาคนฝรั่งแล้ว ถือเป็นของดี เมนูพิเศษ ได้รับความนิยมมาก แม้แต่สังคมชั้นสูงของพวกเขา งานอดิเรกกลายเป็นงานประจำทำเงินได้ดี หากเราสามารถหาลูกค้าได้มาก บริการได้ประทับใจค่ะ

รับเลี้ยงเด็ก babysitter/nanny เป็นอาชีพเสริมที่ดีสำหรับเด็กไทยที่ต้องการหาค่าขนมในช่วงเย็น หรือช่วงวันหยุด ก็สามารถรับจ๊อบนี้ได้ค่ะ เพราะบางครั้งพ่อแม่เด็กต้องไปงานเลี้ยงตอนค่ำๆ ไม่มีคนช่วยดูลูก เค้าก็จะหาคนมาช่วยดูแลเด็กๆ ที่ต้องการเพื่อน และคนพาเข้านอนในช่วงหัวค่ำ  โดยเฉพาะการหาคนที่คุ้นหน้าคุ้นตาแถวๆ บ้าน หรือ คนที่คุ้นหน้าคุ้นตากัน  ค่าจ้างก็จะประมาณ $ 10 ต่อชม. การจ้างเด็กเอเชียจะเป็นที่นิยมสำหรับบางบ้าน เพราะค่าจ้างถูกกว่าคนท้องถิ่น

อาชีพอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ส่งหนังสือพิมพ์ตอนเช้า รายได้ก็ประมาณ $800 ต่อเดือน  สำหรับคนที่ชำนาญเส้นทาง มีจักรยาน หรือมีรถจักรยานยนต์ (ควรทำใบขับขี่สากลไปด้วยนะค่ะ) ใช้เวลาช่วงเช้ามืดไม่กี่ชั่วโมง แต่มีรายได้ถึง 800 ดอลล่าร์ต่อเดือน นับว่ารายได้ดีทีเดียว

พี่เลี้ยงสุนัข โดยพาไปมันเดินเล่น ออกกำลังกาย ขับถ่ายข้างนอก บางครั้งเจ้าของเค้าอาจไม่มีเวลา งานยุ่ง แม้จะมีเงินเลี้ยง แต่ไม่ค่อยมีเวลาดูแล  สำหรับรายได้น่าจะประมาณ $10-$15 ต่อชม. ค่ะ ขึ้นอยู่กับค่าครองชีพและการตกลงกันค่ะ บางครั้งอาจจะมีสัตว์เลี้ยงมากกว่า 1 ตัว ต้องไต่ถามเงื่อนไขกันให้ดีๆ
 
ขายของตามตลาดนัด หรือ คาราวาน เป็นอาชีพเสริมยอดนิยมสำหรับเด็กไทยในอังกฤษ ที่ชอบขายสินค้า หรือ อาหารในตลาดนัด หากสินค้าเป็นที่ต้องตาต้องใจลูกค้า ก็จะมีรายได้ดีพอสมควร

ซ่อมคอมพิวเตอร์ ฆ่าไวรัส ลงโปรแกรม อาชีพเสริมสำหรับเด็กไทยเก่งด้านไอที แต่ลูกค้าคงไม่ใช่ใครอื่นไกล นอกจากคนไทยด้วยกัน เนื่องจากเด็กไทยนิยมหิ้วโน๊ตบุ๊คจากเมืองไทยไปใช้ในต่างแดน ซึ่งจะไม่มีประกัน เวลาเครื่องมีปัญหา จำต้องใช้บริการคนไทยด้วยกันมากกว่าจะส่งซ่อมตามร้านทั่วไป เพราะสู้ราคาไม่ไหวนั่นเอง

ก่อนเดินทางไปต่างประเทศ และกำลังมองหารายได้เสริม ก่อนอื่นคุณต้องสำรวจหาความสามารถในตัวคุณเสียก่อนว่าคุณทำอะไรได้บ้าง พร้อมกับหาข้อมูลสถานที่หรือเมืองที่คุณไปอยู่ว่า มีความต้องการแรงงานแบบใด มีคนเชื้อชาติใดอยู่บ้าง โดยเฉพาะคนไทย ในบางครั้ง...สถานที่ใดที่คนไทยด้วยกันเอง รวมตัวกันอยู่หนาแน่น จะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย  ข้อดีคือ โอกาสที่คุณจะหาของกิน หางานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพของคนไทย หาที่พักราคาถูกนั้นมีง่าย ไม่เหงา มีเพื่อนที่พูดคุยภาษาเดียวกัน สำหรับข้อเสียคือ คุณจะมีคู่แข่งแย่งอาชีพ และ เจอสังคมเดิมๆ เหมือนอาศับอยู่ในประเทศไทย การพัฒนาภาษาจะช้ามาก

อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คุณหางานได้เร็วขึ้นคือ ทำเรซูเม่ ให้สามารถตอบโจทย์กับงานที่คุณกำลังมองหางานอยู่  ใส่ที่อยู่ เบอร์ติดต่อคุณได้ตลอดเวลา ที่สำคัญ อย่าลืมบอกทักษะว่าคุณทำอะไรได้บ้าง พร้อมรูปถ่ายด้วยนะค่ะ หากคุณไม่สามารถเดินหางาน หรือ ไม่รู้วิธีเข้าถึงว่าที่นายจ้างของคุณ แนะนำว่า คุณควรมองหาเอเจนซี่จัดหางานท้องถิ่น..ซึ่งอาจเป็นคำตอบที่ดี เพราะบริษัทจะติดต่อกับผู้ประกอบการ และจะเป็นช่องทางที่ดีที่จะนำความสามารถของคุณเสนอให้ผู้ประกอบการนั้นๆ พิจารณา  หรือมีอีกช่องทางที่จะช่วยให้คุณหางานได้ คือเว็บไซต์หางาน และหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นนั่นเอง 


อาชีพในฝันของคนรุ่นใหม่ของประเทศในกลุ่มอาเซียน

ประชากร AEC อยากทำอาชีพอะไร และตลาดการศึกษาของแต่ละประเทศ

 

 


จากผลสำรวจหัวข้อ “อาชีพในฝัน” ของเด็กในวัย 7-14 ปี ในไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย โดย "อเด็ดโก้" การสำรวจในประเทศไทยเมื่อเดือนมกราคม 2555 พบว่า 5 อาชีพในฝันของเด็กไทย คือ แพทย์ ครู ทนายความ พ่อครัว นักธุรกิจ และสัตวแพทย์ ในขณะที่ 5 อาชีพในฝันของเด็กวัยเดียวกันในสิงคโปร์ คือ ครู แพทย์ นักบิน พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน และศิลปิน ส่วนในมาเลเซีย ซึ่งมีข้อมูล ผลการสารวจของปี 2554 เป็นชุดล่าสุดระบุว่า 5 อาชีพ ในฝันของเด็กชาวมาเลเซีย คือ แพทย์ นักบิน ตารวจ ทนายความ และครู เป็นที่น่าสนใจว่า เด็กทั้ง 3 ชาติให้ความสนใจกับอาชีพแพทย์เป็นอย่างมาก และอาชีพแพทย์คือ 1 ใน 8 สาขาอาชีพนาร่องที่จะเปิดให้เคลื่อนย้ายแรงงานเสรีเมื่อเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งในขณะนี้ประเทศสมาชิก ได้ร่วมกันกาหนดมาตรฐานของผู้ประกอบอาชีพ (MRAs) แล้ว



นอกจากนี้ในรายงานการวิเคราะห์ตลาดการศึกษา โดยบริติช เคาน์ซิล ยังระบุว่า ตลาดการศึกษาในอาเซียนกำลังมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะในเวียดนาม คนรุ่นใหม่ให้ความสาคัญกับการศึกษาในระดับปริญญาโทเพิ่มขึ้นกว่า 139% ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา  ขณะที่รัฐบาลเวียดนามก็ให้ความสาคัญกับการลงทุนด้านการศึกษาระดับสูงแก่ เยาวชน ในประเทศเป็นภารกิจหลัก เนื่องจากเห็นว่าเป็นวิถีทางบริหารความมั่งคั่งยุคใหม่ โดยสาขาวิชาที่มีผู้ต้องการศึกษามากที่สุด ได้แก่ การบริหารจัดการธุรกิจ การเงิน การท่องเที่ยว เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ โดยเฉพาะวิศวกรรมศาสตร์นับว่าเป็นสาขาที่มี ชาวเวียดนามรุ่นใหม่สนใจเรียนจำนวนมาก

ขณะที่รายงานของบริติช เคาน์ซิลในฟิลิปปินส์ซึ่งจัดทาเมื่อปี 2553 ระบุว่า นักศึกษาฟิลิปปินส์สนใจเรียนในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเป็นอันดับ ต้นๆ ไม่ว่าจะเป็น การแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล ตามมาด้วยสาขาที่เกี่ยวกับธุรกิจ โดยเฉพาะด้านการจัดการธุรกิจ การตลาด ส่วนสาขาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศกาลังอยู่ในความสนใจที่มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  นอกจากนี้ชาวฟิลิปปินส์รุ่นใหม่ยังมุ่งมั่นกับการไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ในสาขาที่หลากหลาย อาทิ วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ กฎหมาย สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวและการโรงแรม โดยมีข้อมูลระบุว่า เด็กฟิลิปปินส์ 50% สนใจเรียนในสาขาการจัดการธุรกิจ และอีก 31% สนใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกในต่างประเทศ

ขณะที่ในอินโดนีเซีย ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในอาเซียน คือราว 232 ล้านคนและประชากรกว่า 30% อยู่ในวัยต่ากว่า 15 ปี กลับมีผู้เข้าสู่การศึกษาขั้นสูง (ปริญญาตรีขึ้นไป) ประมาณ 4.8 ล้านคน โดยคนเหล่านี้มีความสนใจที่จะไปศึกษาต่อในต่างประเทศเพื่อสร้างโอกาสในการหางาน เนื่องจากมีผลสารวจระบุว่า นายจ้างในอินโดนีเซีย ยินดีรับผู้จบการศึกษาจากต่างประเทศมากกว่า ซึ่งในด้านหนึ่งเป็นการสะท้อนปัญหาความไม่สมดุลระหว่างดีมานด์ และซัพพลายในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพในประเทศ ซึ่งทำให้เยาวชน อินโดนีเซียต้องออกไปแสวงหาการศึกษาขั้นสูงในต่างประเทศ

ด้านมาเลเซีย ซึ่งมีเป้าหมายยกฐานะเป็นประเทศพัฒนาแล้วโดยสมบูรณ์ภายในปี 2563 ดังนั้นมาเลเซียจึงมีมาตรการและเครื่องมือหลายด้านเพื่อผลักดันให้ไปสู่ เป้าหมายดังกล่าว ซึ่งการลงทุนสร้างทุนมนุษย์อย่างมโหฬารเป็นวิถีทางหนึ่งที่จะพามาเลเซียไป ถึงเป้าหมายที่วางไว้  แต่อย่างไรก็ตามในปี 2554 มีรายงานระบุว่า มาเลเซียมีกาลังแรงงานที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ขึ้นไปเพียง23% ด้วยเหตุนี้ หากมาเลเซียต้องการยกระดับสู่การเป็นประเทศรายได้สูงหรือประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็จำเป็นต้องเพิ่มสัดส่วนกำลังแรงงานที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปให้ได้ 37%

ภายในปี 2558 เป้าหมายเหล่านี้กระตุ้นให้รัฐบาลมาเลเซียออกแรงผลักดันให้มหาวิทยาลัยของ รัฐรับอาจารย์ที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกมากขึ้น จากปัจจุบันมีอาจารย์ระดับปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยรัฐทั่วประเทศ 36% ขณะที่ภาครัฐ ตั้งเป้าหมายผลิตผู้จบปริญญาเอกให้ได้จานวน 18,000 คน ภายในปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่มาเลเซียจะเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนเช่นสมาชิกอีก 9 ชาติในภูมิภาคนี้ ความเคลื่อนไหวต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนและความฝัน ใฝ่ต่ออาชีพในอนาคตของพลเมืองอาเซียนรุ่นใหม่ กาลังชี้นาให้เห็นถึงอนาคตของภูมิภาคนี้ และเป็นโอกาสของตลาดการศึกษาขั้นสูงที่จะจับกระแสและจับอาการของตลาดนี้ได้


ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

VFS คือใคร?


ในปัจจุบันผู้ยื่นขอวีซ่าอาจพบว่ามีหลายสถานทูตที่ใช้บริการจากหน่วยงาน VFS เป็นผู้จัดการรับเอกสารการยื่นคำร้องขอวีซ่า  เราคงไม่ทราบว่า ทำไมสถานฑูคต้องให้หน่วยงาน VFS มาเป็นตัวกลางทำหน้าที่รับเอกสารและส่งมอบพาสปอร์ตแทนสถานฑูต  บ้างยังไม่ทราบเลยว่าสถานฑูต กับ VFS นั้นเป็นคนละองค์กรกัน VFS ไม่มีอำนาจในการอนุมัติวีซ่าให้กับผู้สมัครท่านใด  หรือบ้างอาจยังไม่ทราบชัดเจนว่า VFS  คือ หน่วยงานอะไร ทำอะไรบ้าง และมีสถานทูตประจำประเทศใดบ้างที่ใช้บริการของ VFS ในการรับคำร้องการยื่นเอกสารขอวีซ่า

วีเอฟเอส โกลด์บอล VFS Global เป็นหน่วยงานเอาท์ซอร์สระดับอินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางการทูตและหน่วย งานระดับรัฐบาลทั่วโลก ในการจัดการด้านเอกสารให้แก่องค์กรดังกล่าว วีเอฟเอสเปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544 (ค.ศ.2001) VFS มีศูนย์ดำเนินการเพื่อเป็นตัวแทนรับยื่นวีซ่ามากกว่า 526 ศูนย์ ใน 63 ประเทศ    นับจนถึงปัจจุบันตัวเลขผู้ใช้บริการพุ่งสูงถึง 43 ล้านคนเศษ

รายชื่อของสถานฑูตในประเทศไทยที่ใช้บริการ VFS

ชื่อสถานทูต ชื่อเว็บไซต์
  • ประเทศออสเตรเลีย
  • ประเทศเบลเยี่ยม
http://www.vfsglobal.com/belgium/thailand/
  • ประเทศเดนมาร์ก
http://www.vfsglobal-denmark.com/thailand/
  • ประเทศไอซ์แลนด์
http://vfsglobal-denmark.com/thailand/thai/iceland_tourist.html
  • ประเทศอินเดีย
http://www.ivac-th.com/
  • ประเทศอิตาลี
http://www.vfsglobal.com/italy/thailand/
  • ประเทศญี่ปุ่น
http://www.jp-vfsglobal-th.com/
  • ประเทศเนเธอร์แลนด์
http://www.vfsglobal.com/netherlands/thailand/
  • ประเทศนอร์เวย์
http://www.vfsglobal.com/norway/thailand/
  • ประเทศสเปน
http://www.vfsglobal.com/spain/thailand/
  • ประเทศสวีเดน
http://www.vfsglobal.com/sweden/thailand/
  • ประเทศอังกฤษ
http://www.vfs-uk-th.com/

เมื่อท่านทราบแล้วว่า ท่านจะไปยื่นวีซ่าของประเทศอะไร ท่านทราบแล้วว่าท่านจะต้องมุ่งหน้าไปที่ใด เช่น หากท่านยื่นวีซ่าประเทศสหราชอาณาจักร ท่านสามารถมุ่งไปยัง VFS ที่ถนนราชดำริ แทนที่จะตรงไปสถานฑูตฯ ที่เพลินจิต จะได้ไม่เป็นการเสียเวลา และท่านยังสามารถใช้บริการด้านข้อมูลของ VFS เกี่ยวกับการเตรียมเอกสาร และวิธีการยื่นวีซ่าได้อย่างละเอียดอีกด้วยค่ะ

ทางเลือกใหม่เทียบวุฒิม.6


 'เอ็นซีอีเอ' ทางเลือกใหม่ ยืดหยุ่น-เทียบวุฒิ ม.6 ง่าย

          ชายร่างท้วมสูงใหญ่ ผมสีทอง แลดูอบอุ่นคล้ายซานตาคลอส มร.ริชาร์ด ธอร์นตัน รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายวุฒิการศึกษาส่วนภูมิภาค อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศนิวซีแลนด์กว่า 10 ปี เดินทางมาเยือนไทย เพื่อหยิบยื่นโอกาสให้แก่เด็กไทยที่ต้องการไปศึกษาต่อที่ประเทศนิวซีแลนด์ โดยไม่ต้องกังวลว่าไปแล้วจะเรียนไม่ได้ คะแนนที่ไม่ถึงเกณฑ์ ทำให้ไม่จบ

       
           "เมื่อก่อนต้องยอมรับว่าเด็กไทยที่ไปเรียนที่นิวซีแลนด์สอบไม่ผ่าน สอบตกกันเยอะ ทั้งๆ ที่เขามีอะไรดีๆ อยู่ในตัวมากมาย แต่วันนี้เชื่อว่า เด็กๆ เหล่านี้จะต้องได้รับการศึกษาที่เป็นความต้องการและสอดคล้องกับศักยภาพของตน เองมากที่สุด เช่น ต้องการเรียนเลข ก็ต้องมาดูว่าเลขอะไร เลขสำหรับเข้ามหาวิทยาลัย หรือว่าเลขสำหรับการซ่อมรถ เลขเชิงลึก แต่ไม่ใช่ว่าใครเรียนด้านไหนก็เรียนด้านนั้นอย่างเดียว จะต้องเรียนดนตรี ศิลปะ และวิชาอื่นๆ ควบด้วย จุดสำคัญมันอยู่ที่การวัดผลว่าจะวัดอย่างไร ซึ่งหลักสูตรมีเกณฑ์วัดในสิ่งที่เป็นตัวเด็กมากที่สุด" มร.ธอร์นตัน อธิบาย
        
          "เอ็นซีอีเอ" เป็นหลักสูตรที่คิดขึ้นมา 15-20 ปีแล้ว มีผลผลิตที่มีคุณภาพ จบออกไปได้วุฒิการันตีผลงานศึกษาเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้ทั่วโลก ในประเทศไทย เช่น จุฬาฯ มหิดล ธรรมศาสตร์ ฯลฯ ส่วนต่างประเทศ เช่น ออกซ์ฟอร์ดในสหราชอาณาจักร ฮาร์วาร์ดในสหรัฐอเมริกา
        
           มร.ธอร์นตัน เล่าว่า ความพิเศษของหลักสูตรจะมีความยืดหยุ่นสูง สามารถเลือกวิชาเรียนที่สอดคล้องกับความสามารถและความสนใจของนักเรียนแต่ละ คน หลากหลายกว่า 40 วิชา ตามที่แต่ละโรงเรียนจะมีให้เลือก แต่หากนักเรียนคนไหนสนใจวิชาอาชีพเฉพาะทางก็สามารถเลือกวิชาตรงกับสายอาชีพ ในอนาคตได้ โดย "เอ็นซีอีเอ" จะเอื้อให้แต่ละโรงเรียนพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และประเมินความรู้นั้นๆ เทียบเท่ามาตรฐาน
        
          ทั้งนี้ หลักสูตรส่วนใหญ่จะต้องผ่านการทดสอบหรือประเมิน ทั้งการประเมินภายใน (มาตรฐานของแต่ละโรงเรียน) และประเมินภายนอก (ตรวจสอบมาตรฐานประจำปี ซึ่งกำหนดและให้คะแนนโดย New Zealand Qualifications Authority (NZQA) และมีหน่วยงานรับผิดชอบงานด้านการจัดกรอบโครงสร้างวุฒิการศึกษาของประเทศ (New Zealand Qualifications Freamework) กำกับดูแลระบบประเมินคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งจากการเปรียบเทียบระดับนานาชาติ พบว่า นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่หนึ่งในโลก ผลการศึกษาเมื่อปี 2009 โดย Programme for International Student Assessment (PISA) ชี้ว่า นิวซีแลนด์ได้คะแนนสูงสุดในกลุ่มประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทาง เศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development-OECD) ที่นักเรียนมีคะแนนนำในด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และจากรายงานของโออีซีดี ประจำปี 2012 เกี่ยวกับการศึกษาของนิวซีแลนด์ ระบุว่า การประเมินตามมาตรฐานเอ็นซีอีเอ เป็นระบบประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษาชั้นนำของโลกและเน้นนักเรียนเป็นศูนย์ กลาง
         
            "เราต้องการให้นักเรียนได้เรียนตามที่ตนเองชอบ และที่สำคัญคือ ต้องการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการให้เข้ากับสายอาชีพ เพราะอนาคตข้างหน้านักเรียนต้องทำงาน เช่น การเรียนวิชาการถ่ายภาพ ซึ่งต้องได้ใช้กล้อง เราจะไม่ให้เรียนหรือออกข้อสอบให้บอกว่า กล้องมีส่วนประกอบอะไรบ้าง แต่ละอย่างใช้งานอย่างไร แต่เราจะให้นักเรียนใช้กล้องจริง และบอกว่าใช้ยังไง และไม่ใช่ใช้ได้และรู้ว่าส่วนนั้นคืออะไร แต่ต้องบอกให้ได้ด้วยว่า แสงสะท้อนยังไง ต้องบอกค่าทางฟิสิกส์ให้ได้ด้วย" มร.ธอร์นตัน กล่าว
          
            จากนี้ไปถึงอนาคต "เอ็นซีอีเอ" อาจเป็นหลักสูตรทางเลือกใหม่ที่สร้างความมั่นใจให้แก่นักเรียนไทยที่ต้องการ ไปศึกษาต่อประเทศนิวซีแลน์ ตามศักยภาพตนเอง พร้อมจบออกมาด้วยคุณภาพระดับโลก ท้ายที่สุดนำไปสู่ให้แต่ละประเทศมีความรู้มากขึ้น โดยใช้ "เอ็นซีอีเอ" เป็นสะพานให้ถึงจุดหมายตามที่ต้องการเดินไป สนใจข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่www.nzqa.govt.nz/ncea

ขอบคุณ ขวัญเรียม แก้วสุวรรณ ผู้เรียบเรียงเรื่อง  ภาพและข่าวจาก นสพ คม ชัด ลึก

วีซ่าพ่อครัวไทย

คำแนะนำสำหรับผู้สมัครวีซ่าทำงานประเภทพ่อครัวไทย หรือ Essential Skills
หากคุณกำลังจะยื่นใบสมัครทำงานประเภทพ่อครัวไทย หรือ Essential Skills (ที่จะไปทำงานในฐานะพ่อครัวไทยประเทศนิวซีแลนด์) ใบสมัครที่ยื่นภายใต้ประเภทพ่อครัวไทย Thai Chef (WI11) คุณสมบัติต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยที่มีหนังสือรับเข้าทำงานเต็มเวลาในฐานะ พ่อครัวไทย สามารถได้รับวีซ่าทำงานหากผ่านข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
(i) ประกาศนียบัตรจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ระดับ 1 และมีประสบการณ์การทำงาน 5 ปี
(II) ประกาศนียบัตรจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ระดับ 2 และมีประสบการณ์การทำงาน 4 ปี
(III) ประกาศนียบัตรจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานระดับ 3 และมีประสบการณ์การทำงาน 3 ปี

หากคุณไม่สามารถยื่นหลักฐานเพื่อแสดงว่าคุณผ่านข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่ง ข้างต้น ใบสมัครของคุณจะไม่ได้รับการอนุมัติภายใต้การพิจารณาวีซ่าประเภทThai Chef.

ใบสมัครยื่นภายใต้ประเภท Essential Skills (WK2) หากใบสมัคร วีซ่าทำงานประเภทพ่อครัวไทย (Thai Chef) ของคุณถูกปฏิเสธ คุณยังมีทางเลือกในการสมัครวีซ่าทำงานภายใต้ประเภท Essential Skills ซึ่งคุณต้องผ่านข้อกำหนดทั่วไปของวีซ่าทำงาน และต้องยื่นเอกสารข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ประกอบการพิจารณาวีซ่าด้วย

(I) วุฒิการศึกษาจากโรงเรียนครัววันดีด้วยคะแนนผ่านอย่างน้อย 75% หรือ วุฒิจากวิทยาลัยดุสิตธานีด้วยคะแนนผ่านอย่างน้อย 65%

(II) ประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 3 ปี
หากคุณไม่สามารถยื่นหลักฐานเพื่อแสดงว่าคุณผ่านข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่ง ข้างต้น ใบสมัครของคุณอาจจะไม่ได้รับการอนุมัติวีซ่าทำงานภายใต้ประเภท Essential Skills. ประสบการณ์การทำงานที่สามารถตรวจสอบได้เป็นที่น่าพึงพอใจเท่านั้นจึงถือว่า เป็นที่ยอมรับได้ 

ข้อกำหนดวีซ่าทำงานอื่น ๆ นอกเหนือจากการมีวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงานแล้ว ผู้สมัครทุกคนต้องผ่านข้อกำหนดด้านสุขภาพ (Health) และความประพฤติ (Character) เอกสารตัวจริง หากคุณยื่นเอกสารฉบับจริงมากับใบสมัคร กรุณาแนบสำเนาประกอบทุกครั้ง

ทำอย่างไรให้รู้ผลวีซ่าเร็วขึ้น



เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้มีเวลาในการพิจารณาใบสมัคร ไม่ต้องเสียเวลาในการเรียกเอกสารเพิ่มเติม หรือตรวจสอบข้อมูลของคุณ  คุณควรปฏิบัติด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ เพื่อโอกาสในการร่นเวลาการพิจารณาใบคำร้องของท่านได้เร็วขึ้น

ยื่นใบสมัครที่ครบถ้วน รวมถึงเอกสารประกอบเพื่อแสดงให้ชัดเจนว่าคุณผ่านข้อกำหนดตามแต่ละประเภทของวีซ่าที่คุณสมัคร

หากคุณยื่นเอกสารตัวจริงมาพร้อมกับใบสมัครกรุณาแนบสำเนาประกอบด้วยทุกครั้ง ที่สำคัญคือท่านควรยื่นพาสปอร์ตทุกเล่มที่มี รวมทั้งใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ทะเบียนสมรส และใบเกิด ฯลฯ

ก่อนยื่นเอกสารใดๆ ทุกครั้ง คุณควรศึกษาข้อมูลจากทางเว็บไซต์ของสถานทูต ถึงรายละเอียดของเอกสารที่จะยื่น หรือสอบถามทางตัวแทน

เนื่องจากสถานฑูตแต่ละประเทศจะมีการเปลี่ยนแปลงกฏเกณฑ์ด้านวีซ่า และวิธีการยื่นใบสมัคร รวมถึงใบสมัคร ค่าวีซ่า  เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา หรืออาจการส่งเอกสารผิด คุณควรมีการอัพเดทข้อมูลเหล่านี้ก่อนยื่นทุกครั้ง

ควรวางแผนการยื่นใบสมัครวีซ่า พร้อมเอกสารประกอบการพิจารณาอย่างน้อย 3 สัปดาห์ ขึ้นไป

กรุณาตรวจสอบรายละเอียดของผู้ติดต่ออื่นๆอาทิ ผู้สนับสนุน (สปอนเซอร์) คู่สมรส นายจ้าง ฯลฯ ว่าถูกต้องและสามารถติดต่อได้หรือไม่

หากคุณมีที่ปรึกษาหรือตัวแทนที่ช่วยในการดำเนินการขอวีซ่า กรุณาติดต่อบุคคลเหล่านั้นก่อนติดต่อทางสถานฑูต  เนื่องจากเจ้าหน้าที่จะแจ้งสถานะการพิจารณาวีซ่า หรือ ส่งจดหมายและข้อมูลต่าง ๆ ผ่านตัวแทนของคุณ

ข้อมูลและเอกสารทั้งหมดที่ส่งมานั้นอาจมีการถูกตรวจสอบ ดังนั้นกรุณาตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลติดต่อและบุคคลอ้างอิงบนเอกสารนั้นๆ ครบถ้วนและถูกต้อง

กรุณาหลีกเลี่ยงการติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อสอบถามความคืบหน้าของการพิจารณา วีซ่า เพื่อว่าเจ้าหน้าที่จะได้เวลาเต็มที่ในการพิจารณาใบสมัครของท่าน   ดังนั้นหากเรามีความคืบหน้าในสถานะของใบสมัครเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ตัวแทน หรือผู้สมัครทราบโดยทันที