8.29.2012

อาชีพในฝันของคนรุ่นใหม่ของประเทศในกลุ่มอาเซียน

ประชากร AEC อยากทำอาชีพอะไร และตลาดการศึกษาของแต่ละประเทศ

 

 


จากผลสำรวจหัวข้อ “อาชีพในฝัน” ของเด็กในวัย 7-14 ปี ในไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย โดย "อเด็ดโก้" การสำรวจในประเทศไทยเมื่อเดือนมกราคม 2555 พบว่า 5 อาชีพในฝันของเด็กไทย คือ แพทย์ ครู ทนายความ พ่อครัว นักธุรกิจ และสัตวแพทย์ ในขณะที่ 5 อาชีพในฝันของเด็กวัยเดียวกันในสิงคโปร์ คือ ครู แพทย์ นักบิน พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน และศิลปิน ส่วนในมาเลเซีย ซึ่งมีข้อมูล ผลการสารวจของปี 2554 เป็นชุดล่าสุดระบุว่า 5 อาชีพ ในฝันของเด็กชาวมาเลเซีย คือ แพทย์ นักบิน ตารวจ ทนายความ และครู เป็นที่น่าสนใจว่า เด็กทั้ง 3 ชาติให้ความสนใจกับอาชีพแพทย์เป็นอย่างมาก และอาชีพแพทย์คือ 1 ใน 8 สาขาอาชีพนาร่องที่จะเปิดให้เคลื่อนย้ายแรงงานเสรีเมื่อเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งในขณะนี้ประเทศสมาชิก ได้ร่วมกันกาหนดมาตรฐานของผู้ประกอบอาชีพ (MRAs) แล้ว



นอกจากนี้ในรายงานการวิเคราะห์ตลาดการศึกษา โดยบริติช เคาน์ซิล ยังระบุว่า ตลาดการศึกษาในอาเซียนกำลังมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะในเวียดนาม คนรุ่นใหม่ให้ความสาคัญกับการศึกษาในระดับปริญญาโทเพิ่มขึ้นกว่า 139% ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา  ขณะที่รัฐบาลเวียดนามก็ให้ความสาคัญกับการลงทุนด้านการศึกษาระดับสูงแก่ เยาวชน ในประเทศเป็นภารกิจหลัก เนื่องจากเห็นว่าเป็นวิถีทางบริหารความมั่งคั่งยุคใหม่ โดยสาขาวิชาที่มีผู้ต้องการศึกษามากที่สุด ได้แก่ การบริหารจัดการธุรกิจ การเงิน การท่องเที่ยว เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ โดยเฉพาะวิศวกรรมศาสตร์นับว่าเป็นสาขาที่มี ชาวเวียดนามรุ่นใหม่สนใจเรียนจำนวนมาก

ขณะที่รายงานของบริติช เคาน์ซิลในฟิลิปปินส์ซึ่งจัดทาเมื่อปี 2553 ระบุว่า นักศึกษาฟิลิปปินส์สนใจเรียนในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเป็นอันดับ ต้นๆ ไม่ว่าจะเป็น การแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล ตามมาด้วยสาขาที่เกี่ยวกับธุรกิจ โดยเฉพาะด้านการจัดการธุรกิจ การตลาด ส่วนสาขาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศกาลังอยู่ในความสนใจที่มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  นอกจากนี้ชาวฟิลิปปินส์รุ่นใหม่ยังมุ่งมั่นกับการไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ในสาขาที่หลากหลาย อาทิ วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ กฎหมาย สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวและการโรงแรม โดยมีข้อมูลระบุว่า เด็กฟิลิปปินส์ 50% สนใจเรียนในสาขาการจัดการธุรกิจ และอีก 31% สนใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกในต่างประเทศ

ขณะที่ในอินโดนีเซีย ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในอาเซียน คือราว 232 ล้านคนและประชากรกว่า 30% อยู่ในวัยต่ากว่า 15 ปี กลับมีผู้เข้าสู่การศึกษาขั้นสูง (ปริญญาตรีขึ้นไป) ประมาณ 4.8 ล้านคน โดยคนเหล่านี้มีความสนใจที่จะไปศึกษาต่อในต่างประเทศเพื่อสร้างโอกาสในการหางาน เนื่องจากมีผลสารวจระบุว่า นายจ้างในอินโดนีเซีย ยินดีรับผู้จบการศึกษาจากต่างประเทศมากกว่า ซึ่งในด้านหนึ่งเป็นการสะท้อนปัญหาความไม่สมดุลระหว่างดีมานด์ และซัพพลายในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพในประเทศ ซึ่งทำให้เยาวชน อินโดนีเซียต้องออกไปแสวงหาการศึกษาขั้นสูงในต่างประเทศ

ด้านมาเลเซีย ซึ่งมีเป้าหมายยกฐานะเป็นประเทศพัฒนาแล้วโดยสมบูรณ์ภายในปี 2563 ดังนั้นมาเลเซียจึงมีมาตรการและเครื่องมือหลายด้านเพื่อผลักดันให้ไปสู่ เป้าหมายดังกล่าว ซึ่งการลงทุนสร้างทุนมนุษย์อย่างมโหฬารเป็นวิถีทางหนึ่งที่จะพามาเลเซียไป ถึงเป้าหมายที่วางไว้  แต่อย่างไรก็ตามในปี 2554 มีรายงานระบุว่า มาเลเซียมีกาลังแรงงานที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ขึ้นไปเพียง23% ด้วยเหตุนี้ หากมาเลเซียต้องการยกระดับสู่การเป็นประเทศรายได้สูงหรือประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็จำเป็นต้องเพิ่มสัดส่วนกำลังแรงงานที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปให้ได้ 37%

ภายในปี 2558 เป้าหมายเหล่านี้กระตุ้นให้รัฐบาลมาเลเซียออกแรงผลักดันให้มหาวิทยาลัยของ รัฐรับอาจารย์ที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกมากขึ้น จากปัจจุบันมีอาจารย์ระดับปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยรัฐทั่วประเทศ 36% ขณะที่ภาครัฐ ตั้งเป้าหมายผลิตผู้จบปริญญาเอกให้ได้จานวน 18,000 คน ภายในปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่มาเลเซียจะเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนเช่นสมาชิกอีก 9 ชาติในภูมิภาคนี้ ความเคลื่อนไหวต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนและความฝัน ใฝ่ต่ออาชีพในอนาคตของพลเมืองอาเซียนรุ่นใหม่ กาลังชี้นาให้เห็นถึงอนาคตของภูมิภาคนี้ และเป็นโอกาสของตลาดการศึกษาขั้นสูงที่จะจับกระแสและจับอาการของตลาดนี้ได้


ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

No comments:

Post a Comment