9.21.2012

การเตรียมการอุดมศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน


UploadImage
 
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการ อาเซียน ได้กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมด้านศึกษาในระดับอุดมศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนได้น่าสนใจไว้ดังนี้
 
                ปัจจุบันการแข่งขันในเวทีโลกนั้นสูงมาก การศึกษาเป็นหัวข้อหนึ่งที่อาเซียนให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะจะเป็นกลไกหรือเครื่องมือสำคัญในการสร้างประชาคมอาเซียน เพราะถ้าคนในประเทศสมาชิกคิดว่าตัวเองยังเป็นเชื้อชาติของตนเอง อาเซียนก็เกิดไม่ได้ เราต้องคิดถึงอัตลักษณ์อาเซียน ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ด้วยการเรียนรู้แลกเปลี่ยนและพัฒนาร่วมมือกัน ขณะนี้ประเทศคู่ค้าของอาเซียนต่างสนใจที่จะมาลงทุนอาเซียนมูลค่าในแต่ละปี สูงมาก เพราะอาเซียนมีประชากรมากถึง 600ล้านคนสูงกว่าอียูมาก แต่ประชาคมอาเซียนจะไม่เกิดขึ้น ถ้าคนในแต่ละประเทศสมาชิกไม่เกิดความรู้สึกเป็นอาเซียนระหว่างกัน นี่คือภารกิจของอาเซียน

                อาเซียนมีความใฝ่ฝันว่าจะเป็นหนึ่งเดียวในปี 2015(พ.ศ.2558) แต่ความแตกต่างระหว่างประเทศสมาชิกยังสูงมาก โดยเฉพาะช่องว่างทางเศรษฐกิจ สิ่งนี้ท้าทายอาเซียนในการเข้าสู่ประชาคมร่วมกัน เพราะไม่มีเครื่องมือใดดีไปกว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือให้การศึกษาแก่ พลเมืองของตน ถ้าทรัพยากรมนุษย์ไม่พร้อม ทุนที่จะมาลงในอาเซียนก็อาจจะมีปัญหาได้

                 "ขณะนี้ทุกประเทศต้องฝึกพูดภาษาตลาดเพื่อบอกนักลงทุนว่าขามาลงทุนแล้วได้ กำไรเท่าไหร่บ้าง ในถนนธุรกิจของแต่ประเทศ คนที่จบออกมาต้องสามารถเป็นบุคลากรที่เชื่อมโยงตลาดในและตลาดนอกประเทศได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเน้นที่หัวใจของอาเซียน คือ การศึกษานั่นเอง"

                 ดร.สุรินทร์กล่าวว่าประเทศในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้มีความแตกต่างด้าน เชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรม ไม่เหมือนประเทศในยุโรปที่มีภูมิหลังเดียวกัน ความแตกต่างหลากหลายเหล่านี้ทำให้คนในอาเซียนรีรอที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับ เรื่องภายในแต่ละประเทศ การเป็นประชาคมของคน 600ล้านคนจึงต้องลงทุนลงแรงและร่วมมือกันอย่างจริงจังมากซึ่งไม่ใช่เรื่อง ง่ายเลย

                สิ่งที่อยากเห็นความร่วมมือในอาเซียน ประการแรกคือ อะไรที่ทำได้ให้ทำก่อน หลายอย่างที่อาจจะมีปัญหา เช่น ตารางเปิดเรียนพร้อมกัน ถ้ารอว่าปฏิทินการศึกษาตรงกันก็จะยาก แต่สิ่งที่เราต้องการคือการเรียนรู้ระหว่างกัน เช่น หลักสูตรนานาชาติ อาจปรับเพื่อเกื้อกูลตลาดอาเซียนที่ต้องการเข้ามาศึกษาก่อน

                ประการที่สองการเปิดกว้างโดยเฉพาะสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เปิดสอนให้มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างกันมากขึ้น

               ประการที่สามรัฐบาลต้องเห็นว่าเรื่องนี้เป็นนโยบายสำคัญของประเทศ โดยจัดสรงบประมาณจัดบุคลากรให้ สนับสนุนการเรียนการสอนสาขาวิชาต่างๆอย่างเพียงพอ

                ประการที่สี่ ในสาขาวิชาที่อาเซียนให้การรับรองแล้วว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาในแต่ละประเทศ สามารถออกไปหางานทำในประเทศสมาชิกได้นั้น เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ วิศวกรรม พลังทดแทน ปิโตรเคมี ไอที การโรงแรม การท่องเที่ยว การขนส่งที่มีประสิทธิภาพสูงโลจิสติกส์
                9สาขานั้นคุณภาพต้องเป็นหนึ่งเหมือนกัน และข้อสำคัญต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างดีด้วย

                มิฉะนั้นแล้ว ถ้าไม่เร่งปรับตัว ไทยเราจะเสียเปรียบให้นักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีคุณภาพเหนือกว่ามาก ทั้งทักษะวิชาการ และ ภาษาสื่อสาร ที่เหนือกว่า ดังตัวเลขของการจ้างงานหลายหมื่น ๆ ตำแหน่งงานในองค์กรระหว่างประเทศ  ร่วม 100แห่งที่ตั้งสาขานอกจาก  บริษัทข้ามชาติเอกชนขนาดใหญ่ ๆ ที่มีชื่อเสียงระดับโลก กว่า 500แห่งซึ่งมีหน่วยงานวิจัย พลังงานทดแทน กลุ่มเวชภัณฑ์ยารักษาโรค วิศวะก่อสร้างทันสมัย ที่ต้องเชื่อมโยง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีโครงสร้างแข็งแรง ปลอดภัย นวัตกรรมการคิดค้นประหยัดพลังงานลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ระบบขนส่งโลจิสติกส์ ธุรกิจ วิจัย แปรรูปอาหาร การควบคุมระบบไอทีในธุรกิจค้าส่งค้าปลีก และ ธุรกิจควบคุมการบิน ระหว่างประเทศ ที่ต้องว่าจ้างบัณฑิตต่างประเทศเข้ามาทำงาน ซึ่งทำให้เสียโอกาสแก่เหล่าบัณฑิตไทย ไปอย่างน่าเสียดาย
                  ดังตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ธุรกิจการบิน หอควบคุมการบินระหว่างประเทศ ยังต้องมีการว่าจ้างบัณฑิตจากต่างประเทศหลายร้อย คนกระจายทำงานอยู่ในหอควบคุมการบิน อันเนื่องด้วยประสบการณ์และ สื่อภาษาอันเป็นข้อได้เปรียบด้วยอัตราค่าจ้าง เดือนละไม่น้อยกว่า 8,500 - 10,000เหรียญสหรัฐ

                   ดร.สุรินทร์กล่าวว่า วิชั่นของอาเซียนนี้ ต้องบอกกล่าวไปถึงพ่อแม่ผู้ปกครองและนักเรียนด้วย เพราะอนาคตการเคลื่อนย้ายไปสู่ประเทศในภูมิภาคเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมาก เพราะถ้าเราสามารถชนะในอาเซียนได้เราก็จะสู่สากลได้ ข้อสำคัญเราต้องมีความเป็นเลิศ ต้องเป็นหนึ่ง เพราะเราขายทักษะความรู้ของเรา ต่อไปการผลิตบัณฑิตของแต่ละมหาวิทยาลัยทั้ง 9สาขาวิชานี้ เราไม่ได้ผลิตเพื่อคนในประเทศแต่เราต้องผลิตให้แก่คน 600ล้านด้วย

                   เลขาธิการอาเซียน ท่านได้ฝากถึงคนไทยทุกคนในตอนท้ายว่า...ขอให้คนไทยตระหนักว่าเราเป็นอาเซียน ด้วยกัน เราจึงจะมีอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น และถ้าคุณภาพคนของเราพร้อม และแข่งขันกันแล้วสามารถเอาตัวรอดได้ สู้เขาได้ การผลิตบัณฑิตให้จบไปก่อนตามแบบเดิมไม่เพียงพออีกต่อไป  ต้องเน้น คุณภาพวิชาการ ทันยุคสมัย มีทักษะ พร้อมประสบการณ์การทำงาน มีจิตอาสาเรื่องความรับผิดชอบ  ต่อองค์กร และ ต่อสังคม  นอกจากภาษาต้องถึงพร้อมในระดับสากลเพราะจากนี้ไปเราไม่ได้แข่งขันในบริบทไทย เท่านั้น แต่เราต้องออกไปแข่งขันข้างนอกประเทศด้วย มาตรฐานการศึกษาจึงต้องมุ่งที่ประสิทธิภาพจริงๆ และอยากบอกว่าปัจจุบันนี้ภาคเอกชนได้ตื่นตัวไปก่อนหน้าแล้วนี้ ภาคเอกชนจะเป็นหนึ่งไม่ได้ ถ้าไม่มีบรรยากาศรอบๆที่ช่วยให้เขาแข่งขันต่อไปได้ คนช่วยคือสถาบันอุดมศึกษาต่างๆนี้เอง ในฐานะผู้ผลิต เป็นกัปตันหรือศูนย์หน้าให้ภาคเอกชน

                  " ถ้าสถาบันอุดมศึกษาต่างๆพร้อมออกไปแข่งขัน เชื่อว่าทุกองคาพยพของสังคมไทยจะต้องสนับสนุนอย่างแน่นอน แม้เราจะมีสิ่งท้าทายมากมาย และสิ่งกดดันจากทุกทิศ แต่การบริหารจัดการให้ถูกต้อง ลดคอรัปชั่น เพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันแล้ว เชื่อว่าไทยจะสามารถแข่งขันได้ทั้งในอาเซียนและตลาดโลกอย่างแน่นอน"



ที่มา.http://blog.eduzones.com/aec1/88607

 

อาชีพเสรี ในกลุ่มอาเซียน

จากผลการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้ง ที่ 9 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ได้มีการทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายการบริการ สินค้า แรงงาน การลงทุนอย่างเสรี โดยกำหนดให้ผู้มีคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพ หรือแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ 7 สาขาสามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานที่ประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนได้อย่างเสรีและถูกกฎหมาย เพื่อเป็นการเพิ่มอัตราการแข่งขันทางเศรษฐกิจในภูมิภาคโลก ส่งเสริมอาเซียนให้ เป็นตลาดเดียว และมีฐานการผลิตร่วมกัน โดยจะเริ่มในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ.2015) ในเบื้องต้นนี้ประเทศสมาชิกอาเซียนได้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน ใน 7 สาขาวิชาชีพ คือ

1. อาชีพวิศวกร (Engineering Services)
2. อาชีพพยาบาล (Nursing Services)
3. อาชีพสถาปนิก (Architectural Services)
4. อาชีพการสำรวจ (Surveying Qualifications)
5. อาชีพนักบัญชี (Accountancy Services)
6. อาชีพทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
7. อาชีพแพทย์ (Medical Practitioners) การเปิดอาชีพเสรีแบบนี้ก็อาจมีข้อเสียเหมือนกัน เช่น คนไทยอาจถูกแย่งอาชีพ ปัญหาความอ่อนด้อยทางด้านภาษาต่างประเทศ จะทำให้แรงงานไทยไม่สามารถแข่งขันกับแรงงานชาติอื่นได้ ดังนั้นนักเรียน นักศึกษาจึงควรที่จะเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ในการสื่อสารและการทำงาน

ที่มา  http://blog.eduzones.com/
ข้อมูล อาเซียน ตัดตอนจาก เดลินิวส์ออนไลน์ 22 สิงหาคม 2555

เปลี่ยนเวลา ปิด-เปิด ภาคเรียน เริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557

ศธ.ออกประกาศกระทรวงฯ ปรับปฏิทินการเปิดภาคการศึกษาทุกหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2555 โดยมี ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 14 กันยายน 2555 เรื่อง ขอความร่วมมือปรับปฏิทินการเปิดภาคการศึกษาทุกหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา

ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการที่ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดเสรีทางการค้า ตลาดแรงงาน การศึกษา และอื่นๆ โดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดนโยบายรองรับในการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนไว้หลายประการ เช่น การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียน การเตรียมความพร้อมทางด้านภาษาของนักเรียนและบุคลากร การส่งเสริมแลกเปลี่ยนนักเรียน นักศึกษา บุคลากร และการเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีทางการศึกษา โดยประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางการศึกษาของอาเซียน ฯลฯ

ดังนั้น เพื่อเป็นการรองรับการเปิดภาคการศึกษาในระดับสากลและการเปิดประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 และเพื่อประโยชน์แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งจะใช้เวลาศึกษาในชั้นเรียนได้อย่างเต็มที่ ครบตามหลักสูตร มีเวลาเตรียมตัวเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาไม่ต้องเร่งดำเนินการรับนักศึกษา อีกทั้ง เพื่อความเป็นเอกภาพในระบบการจัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จึงขอความร่วมมือสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดและในกำกับทุกแห่งปรับปฏิทินการเปิดภาคเรียนทุกหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา เป็นช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายนทั้งนี้ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป

ที่มา: http://www.naewna.com

9.12.2012

QS Best Student Cities in the World 2012

สถาบัน QS ได้จัดอันดับ Best Student Cities ไว้น่าสนใจมาก ซึ่งจะประกอบด้วยรายละเอียดของคุณภาพของสถาบันศึกษา ขนาดพลเมือง และ โปรไฟล์ของแต่ละเมือง คุณภาพชีวิต ค่าใช้จ่าย และนักเรียนแต่ละเชื้อชาติไว้อย่างละเอียดเลยทีเดียว 



ที่มา http://www.topuniversities.com/student-life/best-student-cities/


 RANK  CITY (Click 
to view profile)
COUNTRY STUDENT MIX QUALITY OF 
LIVING
EMPLOYER ACTIVITY AFFORD
ABILITY
OVERALL
1 Paris France 85 91 96 54 421
2 London United Kingdom 87 88 89 41 405
3 Boston United States 85 89 83 44 399
4 Melbourne Australia 100 94.5 84 28 398
5 Vienna Austria 99 99.5 81 62 389
6 Sydney Australia 94 97 81 25 384
7 Zurich Switzerland 84 99 81 51 381
8 Berlin Germany 81 95 57 71 376
8 Dublin Ireland 92 91.5 70 43 376
10 Montreal Canada 85 93 68 46 372
11 Barcelona Spain 76 87 71 61 370
12 Singapore Singapore 78 92 100 35 369
13 Munich Germany 79 98.5 63 69 368
14 Lyon France 88 87.5 43 81 367
15 Chicago United States 62 85.5 72 44 357
16 Madrid Spain 73 85.5 64 66 356
17 San Francisco United States 67 91 72 43 353
18 New York United States 63 83.5 73 35 352
19 Tokyo Japan 43 84 83 46 351
19 Hong Kong Hong Kong 74 50 92 42 351
21 Milan Italy 63 86 89 54 350
22 Brisbane Australia 94 88.5 63 30 349
23 Seoul Korea, South 67 50 82 53 345
24 Buenos Aires Argentina 54 50 93 75 339
25 Perth Australia 95 93.5 53 28 337
26 Toronto Canada 70 95.5 75 35 336
27 Stockholm Sweden 66 94 79 34 335
28 Beijing China 48 50 87 62 329
29 Adelaide Australia 88 91 45 34 327
30 Washington DC United States 60 85.5 55 45 325
31 Vancouver Canada 78 98 54 37 322
31 Mexico City Mexico 38 50 68 95 322
33 Helsinki Finland 58 89.5 53 69 321
34 Taipei Taiwan 49 50 59 78 320
35 Manchester United Kingdom 82 50 66 64 317
36 Amsterdam Netherlands 62 96.5 57 44 316
37 Moscow Russia 57 50 78 52 314
38 Brussels Belgium 71 93 40 60 308
39 Shanghai China 43 50 70 68 306
39 Copenhagen Denmark 64 97.5 56 31 306
41 Santiago Chile 33 50 89 63 302
42 Philadelphia United States 56 50 64 52 301
43 Kyoto Japan 60 83 44 47 298
44 Kuala Lumpur Malaysia 58 50 45 86 295
45 Sao Paulo Brazil 27 50 79 58 292
46 Toulouse France 86 50 26 81 286
47 Birmingham United Kingdom 64 50 55 64 284
48 Cairo Egypt 47 50 55 96 282
49 Bangkok Thailand 27 50 63 68 279
50 Glasgow United Kingdom 68 50 43 63 278

9.03.2012

หวั่นต่างชาติแย่งงานคนไทย


เมื่อวันที่ 12 ก.ค. ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ( SBAC ) มีการเสวนา "Next Step อาชีวศึกษา:สร้างคนพันธุ์ R รับคำท้าอาเซียน" จัดโดย สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน(สสค.) ร่วมกับบริษัท ทีโอเอ เพ้นท์(ประเทศไทย) จำกัด และสำนักงานอาชีวศึกษา(สอศ.) โดย รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาฯกล่าวว่า

ประเทศไทยยังขาดแรงงานระดับกลางอีกจำนวนมาก  ขณะที่รัฐและคนส่วนใหญ่ไม่สนใจส่งลูกมาเรียนอาชีวศึกษา แต่ให้เรียนต่อมหาวิทยาลัย ทั้งที่จบมหาวิทยาลัยก็ตกงาน  ดังนั้น จึงเป็นการส่งเสริมการศึกษาที่ผิดและเป็นอันตรายต่อประเทศอย่างมาก ขณะที่ประเทศสิงค์โปร์ถือว่าเป็นผู้นำในกลุ่มอาเซียน จะให้ความสำคัญกับอาชีวศึกษา โดยกำหนดสัดส่วนเด็กต้องเรียนอาชีวศึกษากับมหาวิทยาลัย 70 ต่อ 30 เพราะเห็นความสำคัญของแรงงานที่จะพัฒนาประเทศ  แต่ประเทศไทยเด็กเรียนอาชีวศึกษากับมหาวิทยาลัย 33 ต่อ 67  หรือ ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการให้สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน( สพฐ.) และสอศ.ทำความร่วมมือกันกำหนดสัดส่วนการรับนักเรียน 60 ต่อ 40 เพื่อให้เด็กมาเรียนสายอาชีพมากขึ้น แต่เด็กมาเรียนอาชีวศึกษาไม่ได้ตามเป้า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสพฐ.ไม่อยากให้เด็กเรียนสายอาชีพ เพราะกลัวว่าจะได้ค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียนลดลง  ดังนั้น ต้องอาศัยนโยบายฝ่ายการเมืองมาบังคับ

รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวว่าต่อไปว่า ตนเห็นว่าทุกฝ่ายจะต้องเตรียมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนกันได้แล้ว รวมทั้งหากไม่ช่วยกันยกระดับอาชีวศึกษาใน 2 ปีนี้ แรงงานระดับกลางของเรากว่าครึ่ง จะถูกแทนที่ด้วยแรงงานต่างชาติ ที่มีศักยภาพมากกว่า รวมทั้งมีความอดทน และลอกเลียนแบบจุดแข็งเด็กอาชีวศึกษาของไทยที่มีความละเอียดและคิดสร้างสรรค์ในงานฝีมือเชิงศิลปะ ดังนั้น การเข้าสู่ประชาคมเศรฐกิจอาเซียนในปี2558  จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายเด็กอาชีวศึกษาให้โชว์ศักยภายที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ร่วมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมช่วยกันผลักดัน เชื่อว่าในอีก3ปีเราจะสู้ได้ แต่ถ้าไม่เตรียมเด็กให้พร้อมเด็กไทยจะไม่มีพื้นที่ในการทำงาน และแรงงานระดับกลางของไ่ทยจะถูกเด็กต่างชาติเข้ามาแทนที่หมด

นางศรีวิการ์  เมฆธวัชชัยกุล อดีตรองปลัดกระทรางศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนมีโอกาสเดินทางไปดูงานของกลุ่มประเทศอาเซียน บอกได้เลยว่า เด็กอาชีวศึกษาของไทยไม่เป็นรองเด็กอาชีวศึกษาต่างชาติ ยกเว้นประเทศสิงคโปร์ แต่เราจะชะล่าใจไม่ได้ต้องเตรียมตัวให้พร้อมและพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพมากขึ้นเรื่อยๆนอกจากนี้ การเรียนเด็กอาชีวศึกษาในทศวรรษที่ 21 ต้องสร้างเกิดการเรียนไม่แยกส่วนด้วยโมเดลห้องเรียนอาชีวศึกษาในโรงเรียนสพฐ คือ เด็กสายสามัญสามารถเรียนต่อด้านสายอาชีพได้โรงเรียนเดิม เพียงแต่ให้อาชีวศึกษาจัดการเรียนการสอนสายอาชีพเสริม และจะทำให้เด็กมีทักษะในการคิดนวตกรรมใหม่ร่วมกัน

นายไชยศิริ สมสกุล ประธานอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า  ขณะนี้รัฐและภาคเอกชนตื่นตัวในการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมากขึ้น ส่วนการเรียนของเด็กจากนี้ไม่ใช่เรียนเพื่อจบหรือเรียนตามใจตนเอง แต่ต้องเรียนให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานและสู่มาตรฐานสากล อีกทั้ง สถาบันการศึกษาจะมาคิดหลักสูตรที่เรียนเองไม่ได้ต้องระดมความคิดเห็นจากสถานประกอบการ เพื่อสู่ประชาคมอาเซียนร่วมกัน

ด้านนายจตุภัทร์  ตั้งคารวคุณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอเอ ฯ กล่าวว่า ทีโอเอ เป็นบริษัทคนไทยเห็นความสำคัญการพัฒนาฝีมือแรงงานไทย จึงนำความรู้ความเชี่ยวชาญมาเติมเต็มให้กับเด็กอาชีวศึกษาเพื่อให้สร้างาน สร้างอาชีพ ช่วยเหลือตนเองก้าวไปแข่งขันตลาดแรงงานได้ และเห็นว่าอาชีวศึกษาเป็นกลุ่มบุคลากรที่สำคัญที่จะร่วมพัฒนาสังคมและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

ข้อมูลจาก www.dailynews.co.th